Sustainability
นโยบาย
นโยบายด้านความยั่งยืน
ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์บนฐานการค้าที่เป็นธรรม โดยส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์และรวมกลุ่มเป็น SMEs ขยายช่องทาง และโอกาสการค้ากับเครือข่าย ผู้ประกอบการ สร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้บริโภค เป็นแบบอย่างการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
การปฏิบัติด้านความยั่งยืน
• พื้นที่สวนสามพราน 127 ไร่ ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ IFOAM, EU และ CANADA
• ก่อตั้งมูลนิธิสังคมสุขใจ ปี ค.ศ. 2014 ขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ในรูปแบบของสามพรานโมเดล โมเดลธุรกิจเกื้อกูลสังคม โดยทำงานส่งเสริมให้ เกษตรกรในเครือข่าย 16 กลุ่ม 170 กว่าราย ทำเกษตรอินทรีย์ และเชื่อมต่อช่องทางตลาดไปยังผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
• ซื้อวัตถุดิบอินทรีย์จากเกษตรกรในเครือข่ายสามพรานโมเดล คิดเป็น 70% ของวัตถุดิบอาหารที่ใช้ทั้งหมด
• ปลูกข้าว ผัก ผลไม้ และสมุนไพรอินทรีย์ ที่ปฐมออร์แกนิกฟาร์ม
ในปริมาณ 1-2 ตันต่อเดือน
• จัดสรรพื้นที่ “ตลาดสุขใจ” กว่า 2 ไร่ เป็นช่องทางการขาย
สินค้าอินทรีย์ จากเกษตรกรในเครือข่ายสามพรานโมเดลสู่ผู้บริโภค
• เลิกใช้บรรจุภัณฑ์โฟม หลอดพลาสติก และขวดน้ำพลาสติก
• แยกขยะอาหารทั้งหมด เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นปุ๋ยอินทรีย์ อาหารสัตว์ และเลี้ยงไส้เดือน
• ผลิตอาหารแปรรูปและผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบอินทรีย์ ภายใต้แบรนด์ “ปฐม” เพื่อนำมาใช้ใน สวนสามพราน และจำหน่ายให้กับผู้บริโภคทั่วไป
• รีไซเคิลน้ำมันพืชใช้แล้วให้เป็นไบโอดีเซลเพื่อใช้งานในสวนสามพราน
เส้นทางอาหาร (Food Journey) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ผลกระทบ (Impact)
ด้านสุขภาพ : ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคจากการไม่ใช้สารเคมี
ด้านเศรษฐกิจ :
– สวนสามพรานซื้อวัตถุดิบตรงจากเกษตรกรอินทรีย์คิดเป็นมูลค่า 700,000 บาทต่อเดือน
– พื้นที่ตลาดสุขใจสร้างรายได้ให้เกษตรกรอินทรีย์และชุมชนคิดเป็นมูลค่า 3,000,000 บาทต่อเดือน
ด้านสิ่งแวดล้อม :
– Carbon Footprint ของการจัดการอาหารในสวนสามพรานต่ำกว่าอาหารทั่วไป เนื่องจาก
– วัตถุดิบส่งตรงจากเกษตรกรอินทรีย์ในพื้นที่ใกล้เคียง
– ผลผลิตอินทรีย์ใช้ปัจจัยการผลิตจากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เมื่อเทียบกับผลผลิตเกษตรทั่วไปที่ใช้สารเคมีซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
– สวนสามพรานรีไซเคิลขยะอาหาร 100% คิดเป็นปริมาณ 4.2 ตันต่อเดือน
– ระบบนิเวศน์มีความสมดุลมากขึ้นจากการไม่ใช้สารเคมีในพื้นที่สวนสามพราน
ด้านสังคม : เกิดสังคมใหม่ระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้บริโภค เชื่อมโยงโดยห่วงโซ่อาหารอินทรีย์บนฐานการค้าที่เป็นธรรม
สามพรานโมเดลและการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ (Organic Tourism)
สวนสามพรานดำเนินงานตามหลักการธุรกิจเกื้อกูลสังคมของสามพรานโมเดล ซึ่งมีพันธกิจในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้จากการมีส่วนร่วมบนฐานการค้าที่เป็นธรรม ความสำเร็จของสวนสามพรานได้รับการขยายผลเป็นต้นแบบในการจัดการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์ โดยเชื่อมเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์ทั่วประเทศกับผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร และสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการมีส่วนร่วม
สวนสามพรานพร้อมแบ่งปันความรู้จากประสบการณ์การขับเคลื่อนระบบอาหารยั่งยืน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านต่างๆ อาทิ ธุรกิจเกื้อกูลสังคม (Inclusive Business) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยสามพรานโมเดล อะคาเดมี่ (Sampran Model Academy) และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เช่นการทำ CSR การทำวิจัยและพัฒนา การเป็นพันธมิตรธุรกิจ
ตลาดสุขใจ
ตลาดสุขใจก่อตั้งเมื่อปี 2553 ในบริเวณสวนสามพราน มีเป้าหมายเป็นพื้นที่เรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์และช่องทางเชื่อมตรงระหว่างเกษตรกรอินทรีย์ในเครือข่ายสามพรานโมเดลกับผู้บริโภคทำให้เกิดการเข้าถึงสินค้าอินทรีย์ที่เชื่อมั่นได้ในราคาที่เป็นธรรม ปัจจุบันมีร้านค้ากว่า 70 รายนำสินค้าข้าว ผัก ผลไม้ อาหารปรุงสด อาหารแปรรูปมาจำหน่าย สร้างรายได้ประมาณ 3,000,000 บาทต่อเดือน ตลาดสุขใจบริหารงานโดยคณะกรรมการตลาดที่ได้รับการเลือกตั้งจากกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าหมุนเวียนทุกปี และยังมีคณะกรรมการผู้บริโภคทำหน้าที่สะท้อนความเห็นต่อการดำเนินงานและสื่อสารความต้องการของลูกค้ากับคณะกรรมการตลาดเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานต่อไป